วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 1.2 ความจำเป็นของการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ


ศักยภาพของธุรกิจ หมายถึง ธุรกิจที่,ทุกบุคคลที่มีความสามารถพัฒนาสินค้านั้น ๆ ให้อยู่ใน ตลาดได้อย่างมั่นคงความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจ
1.     ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างขวางกว่าเดิม
2.     ทำให้ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
3.     มีแนวทางในการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ปลอดภัยจากการขาดทุน
4.     เป็นการสื่อสารเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องหรือองค์กรที่สนับสนุนเงินให้ ทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
5.     ในการขยายธุรกิจมีความเป็นไปได้
ความคิดรวบยอด
องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของอาชีพ จะต้องมีความตรงกันกับป้จจัย ที่ส่งผลต่อศักยภาพในอาชีพ หากมีองค์ประกอบที่ไม่ตรง จำเป็นที่จะต้องจัดการให้ตรงกันหรือสัมพันธ์ กันก็จะทำให้ศักยภาพของอาชีพสูงขึ้น
ศักยภาพของอาชีพสามารถบอกเป็นตัวเลขและอธิบายสภาพที่ปรากฏไต้จะทำให้เรา มองเห็นข้อบกพร่องและสามารถแก้ไขข้อบกพร่องพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคงไต้
ความหมายของศักยภาพในอาชีพ
ศักยภาพในอาชีพ หมายถึง ภาวะแฝงหรืออำนาจแฝงที่มีอยู่ในปัจจัยดำเนินการอาชีพ ได้แก่ ทุน บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และระบบการจัดการนำมาจัดการให้ตรงกับองค์ประกอบความมั่นคง ในอาชีพ จะสามารถทำให้อาชีพมั่นคงและปรากฏให้ประจักษ์ได้
ลักษณะโครงสร้างของศักยภาพในอาชีพ
โครงสร้างของศักยภาพในอาชีพ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดปัจจัยดำเนินการของ อาชีพกับองค์ประกอบของการพัฒนาอาชีพให้มั่นคง มีลักษณะโครงสร้างของความสัมพันธ์ ดังนี้


ปัจจัยนำเข้า เพื่อ

ตรงกัน
สัมพันธ์กัน
การจัดองค์ประกอบ

ศักยภาพ
การขยายอาชีพ
.
ความมั่นคงของ
การขยายอาชีพ
การขยายอาชีพ
พัฒนาอาชีพ


- ทุน                                                      -การจัดการลดความเสี่ยง ผลผลิต
- บุคลากร วัสดุ                                      -ข้อตกลง/มาตรฐาน พัฒนาอาชีพ
- อุปกรณ์
-การจัดการ


แผนภูมิแสดงโครงสร้างศักยภาพการขยายอาชีพสู่ความมั่นคง มีรายละเอียด ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้าเพื่อการขยายอาชีพในแต่ละปัจจัย จะมีตัวแปรร่วม ดังนี้
1.1     ทุน
(1)      เงินทุน
(2)      ที่ดิน/อาคารสถานที่
(3)      ทุนทางปัญญา
-       การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
-       องค์ความรูที่สร้างขึ้น
- ภาพลักษณ์ของผลผลิตและสถานประกอบการที่จะสร้างความพอใจกับลูกค้า
1.2     บุคลากร
(1)      หุ้นส่วน
(2)      แรงงาน
1.3     วัสดุอุปกรณ์
(1)      วัตถุดิบ
(2)      อุปกรณ์เครื่องมือ
1.4     การจัดการ
(1)      การจัดการการผลิต
(2)      การจัดการการตลาด
2.      การจัดองค์ประกอบพัฒนาอาชีพ มีปัจจัยและตัวแปร ตังนี้
1.1     องค์ประกอบค้านการจัดการลดความเสี่ยงผลผลิต
(1)      ความหลากหลายทางชีวภาพ
(2)      การเพิ่มผลผลิต
(3)      การจัดการหมุนเวียนเปลี่ยนรูป
(4)      การจัดการรายได้ให้เวียนกลับมาสู่การขยายอาชีพ
1.2     ข้อตกลง/มาตรฐานพัฒนาอาชีพ
(1)       คุณภาพผลผลิต
(2)       การลดต้นทุน
(3)       การส่งมอบ
(4)       ความปลอดภัย
3.      ศักยภาพการขยายอาชีพ เป็นตัวเลขบ่งชี้ความตรงกันหรือความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำเข้า กับ การจัดองค์ประกอบพัฒนาอาชีพ ตังนี้
3.1   ประสิทธิภาพรวมของการดำเนินการขยายอาชีพ ซึ่งเป็นตัวเลขผันแปร ระหว่าง -1 ถึง 1 โดยมีเกณฑ์การประเมินตังนี้
ตํ่ากว่า 0.5        = การขยายอาชีพ มีศักยภาพตํ่ากว่าต้องแก้ไข
สูงกว่า 0.5-0.75= การขยายอาชีพมีศักยภาพ สูงกว่า 0.75   = การขยายอาชีพมีศักยภาพสูง
3.2    ประสิทธิภาพแต่ละปัจจัย ต้องมีค่า 0.5 ขึ้นไปถึงจะยอมรับได้ แต่ถ้าหากตํ่ากว่า ก็ควรดำเนินการแก้ไขพัฒนา


การวิเคราะห์ศักยภาพในธุรกิจ ด้านการวิเคราะห์ความตรงกันหรือความสัมพันธ์กันระหว่าง ปัจจัยนำเข้าดำเนินการขยายอาชีพกับองค์ประกอบการพัฒนาอาชีพของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องกับการ ประกอบการขยายอาชีพ จำนวน 3 - 5 คน ดำเนินการวิเคราะห์แล้วนำมาประมวลผล สรุปผล ดังนี้
1.       จัดทำตารางวิเคราะห์ ดังตัวอย่างนี้
         ปัจจัยนำเข้า
          ขยายอาชีพ
องค์ประกอบ
พัฒนาอาชีพ    
ทุนดำเนินการ
บุคลากร
วัดสุอุปกรณ์
การจัดการ
ศักยภาพ
รายข้อ
1
0
-1
1
0
-1
1
0
-1
1
0
-1
1. ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ













2. การเพิ่มของผลิต













3. การหมุนเวียน เปลี่ยนรูป













4. การจัดการรายได้













5. คุณภาพผลผลิต













6. การลดด้นทุน













7. การส่งมอบ
ผลผลิต













8. ความปลอดภัย













ศักยภาพรวม












2.       ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อสรุปศักยภาพการขยายอาชีพด้วยการใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 - 5 คน ตรวจสอบพิจารณาความตรงกันระหว่างองค์ประกอบพัฒนาอาชีพในแต่ละข้อกับปัจจัยนำเข้า ขยายอาชีพ โดยมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้
ให้คะแนน 1 หมายถึง มีความตรงกัน สัมพันธ์กัน ให้คะแนน 0 หมายถึง เฉยๆไม่มีความเห็น ให้คะแนน-! หมายถึง ไม่ตรงกัน
3.       ดำเนินการประมวลผล เพื่อสรุปผลและอภิปรายผลศักยภาพการขยายอาชีพด้วยการ นำผลการวิเคราะห์ของทุกคนมาคิดหาค่าเฉลี่ย ดังตัวอย่าง
         ปัจจัยนำเข้า
         ขยายอาชีพ
องค์ประกอบ
พัฒนาอาชีพ    
ทุนดำเนินการ
บุคลากร
วัดสุอุปกรณ์
การจัดการ
ศักยภาพ
รายข้อ
1
0
-1
1
0
-1
1
0
-1
1
0
-1
1. ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ
4
-
1
3
-
2
2
3
-
4
1
-
0.50
2. การเพิ่มของผลิต
5
-
-
2
3
-
2
3
-
4
1
-
0.65
3. การหมุนเวียน เปลี่ยนรูป
5
-
-
2
3
-
1
4
-
4
1
-
0.60
4. การจัดการ
รายได้
1
4
-
2
3
-
2
3
-
4
-
1
0.40
5. คุณภาพผลผลิต
4
1
-
3
2
-
3
2
-
4
1
-
0.70
6. การลดต้นทุน
5
-
-
5
-
-
-
1
4
3
-
2
0.35
7. การส่งมอบผลผลิต
1
-
4
2
-
3
1
-
4
2
-
3
-0.40
8. ความปลอดภัย
2
3
-
5
-
-
3
2
-
5
-
-
0.75

0.55
0.45
0.225
0.60
0.365





         ผลการวิเคราะห์สามารถอธิบายได้ว่า
1. ภาพรวมของศักยภาพ มีคะแนน 0.365 อาจบอกได้ว่า การขยายอาชีพมีศักยภาพไม่ถึงเกณฑ์
2. เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ปัจจัยด้านบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์มีศักยภาพไม่ถึงเกณฑ์
            3. เมื่อพิจารณาด้านองค์ประกอบพัฒนาอาชีพ พบว่า องค์ประกอบด้านการจัดการ รายได้ การลดต้นทุนและการส่งมอบผลผลิตมีศักยภาพไม่ถึงเกณฑ์
           4.ผลการวิเคราะห์อาจสรุปได้ว่า การขยายอาชีพของผู้ประกอบการรายนี้ มีศักยภาพ ตํ่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดจำเป็นต้องทบทวนพัฒนาใหม่การระบุปัจจัยและองค์ประกอบที่มีและไม'มีศักยภาพ
            การระบุปัจจัยและองค์ประกอบที่มีและไม'มีศักยภาพได้ จากการนำผลการวิเคราะห์และ ประเมินศักยภาพในธุรกิจมาพิจารณาอภิปรายเหตุและผลที่นำไปสู่การพัฒนา ดังขั้นตอนต่อไปนี้
              1. ตรวจสอบผลการวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีคะแนนตากว่าเกณฑ์ที่มีองค์ประกอบ อะไรบ้าง
     2. พิจารณาองค์ประกอบที่พบว่าตํ่ากว่าเกณฑ์แล้วนำมาพิจารณาสภาพภายในว่า ความตรงกับกับปัจจัยนำเข้าขยายอาชีพมีสภาพเป็นอย่างไรแล้วคิดทบทวนหาเหตุ หาผล ว่ามาจากอะไร
ตัวอย่างการพิจารณา
         ปัจจัยนำเข้า
         ขยายอาชีพ
องค์ประกอบ
พัฒนาอาชีพ
ทุนดำเนินการ
บุคลากร
วัดสุอุปกรณ์
การจัดการ
ศักยภาพ
รายข้อ
1
0
-1
1
0
-1
1
0
-1
1
0
-1
4. การจัดการรายได้
1
4
-
2
3
-
2
3
-
4
-
1
0.40
จากตัวอย่าง เราพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาอาชีพในรายการที่ 4 เรื่อง การจัดการ รายได้ มีคะแนนศักยภาพ 0.40 ตากว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จึงจำเป็นที่เราต้องพัฒนา ดังนั้น จึงหันมาพิจารณา ด้านปัจจัยนำเข้าซึ่งเป็นตัวที่มีภาวะแฝง สามารถทำให้อาชีพพัฒนาและปรากฏให้ประจักษ์ได้ ดังนี้
                    1.ด้านทุนดำเนินการ ที่จะใช้ขับเคลื่อนการจัดการรายได้ ขาดความชัดเจน
                    2.บุคลากรดำเนินการ ผู้เชี่ยวชาญมองเห็นว่า ไม่ชัดเจน
                    3.วัสดุอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญมองเห็นว่า ไม่ชัดเจน
     ทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพการจัดการรายได้ จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนกำหนดแนวทางพัฒนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น