วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 4.2 การแทรกความนิยมเข้าสู่ความต้องการของผู้บริโภค

เรื่องที่ 4.2 การแทรกความนิยมเข้าสู่ความต้องการของผู้บริโภค
         1.  ความสำคัญและความต้องการของผู้บริโภค
การวางแผนการขายสินค้าหรือบริการใดๆ ผู้บริหารจะต้องมีข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และการวางแผนการตลาดและนักการ ตลาดจำเป็นต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับผู้บริโภคและความต้องการของผู้บริโภค เพราะผู้ผลิตส่วนใหญ่จะ ผลิตสินค้าที,คล้ายคลึงกันและขายให้กับผู้บริโภคกลุ่มเดียวกันการกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ตรายี่ห้อ โดยยึดถือความต้องการของผู้บริโภคจะเป็นเครื่องช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจไต้ง่ายขึ้น นักการตลาด ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้บริโภคทุกคนมีรสนิยมไม่เหมือนกันซึ่งมีความแตกต่างกันไปเห็นไต้ชัดเจนในเรื่อง ความต้องการของผู้บริโภค นักการตลาดต้องมีความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคซึ่งต้องชี้ให้เห็น ว่าความต้องการเกิดขึ้นจากอะไร ความต้องการของผู้บริโภคแบ่งออกไต้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    1.   ความต้องการทางต้านร่างกาย คือความหิว การนอน การพักผ่อน การอบอุ่น
    2.   ความต้องการด้านอารมณ์หรือจิตวิทยา คือ ความปลอดภัย ความรัก การยอมรับ ความ พอใจ ความงาม ฉะนั้น นักการตลาดจึงต้องเข้าใจลึกขึ้งถึงรายละเอียดของความต้องการทั้งสองประเภท เพื่อเอามาเป็นจุดขายสินค้าและเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดโดยเฉพาะด้านการโฆษณาสินค้า
2. การแทรกความนิยมเข้าสู่ความต้องการของผู้บริโภค
    สินค้าแต่ละชนิดจะมีเอกลักษณ์เฉพาะอยู่แล้ว เช่น ความนิยมของอาหารไทยใน ต่างประเทศ เป็นที่นิยมแบบดาวรุ่งทุ่งแรงมาดลอดระยะเวลานาน ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ รวมทั้งในยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ป่น ตะวันออกกลางและอินเดีย อาจจะเป็นเพราะอาหารไทยมีเอกลักษณ์ที่ มีรสชาติถูกปากได้รับการยอมรับ  ตัวอย่างการแทรกความนิยมเข้าสู่ความต้องการของผู้บริโภค ดังนี้
1.    เอกลักษณ์ต้านรสชาติ ที่มีความกลมกล่อมทั้ง 3 รส คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ด ไต้อย่างลง ตัวพอดี โดยไม่เน้นหนักไปในรสใดรสหนึ่ง สร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค ทำให้รู้สึกอยาก กลับมาทานอีก อาหารบางชนิดมีเอกลักษณ์ของกลิ่นสมุนไพรที่เป็นพืชผักในเมืองไทย เครื่องเทศต่าง ๆที่ ใช้ปรุงอาหาร ถือว่าโดดเด่น ไม่ฉุนเกินไป แต่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของเครื่องเทศที่สอดแทรก บางครั้งมี การปรับรสชาติบ้าง เพื่อให้ตรงกับผู้บริโภค เช่น ไม่เผ็ดเกินไป เพราะต่างชาติจะไม่นิยมรับประทาน อาหารรสจัด
2.    ความหลากหลายของอาหารไทย อาหารไทยทั้นมีทั้งอาหารคาวหวาน สารพัดชนิดที่ สามารถเถือกมานำเสนอได้ไม่รู้จบ มีการแข่งขันกัน นอกจากจะรสชาติแล้ว ยังมีการนำวัสดุมาดัดแปลง ให้เป็นประโยชน์ใช้แทนกันได้ หรือการจัดตกแต่งอาหารก็เป็นที่ดึงดูดลูกค้าขึ้นอยู่กับการเข้าถึงรสนิยม ของผู้บริโภค
3.    อาหารไทยไม่เลี่ยนและไม่อ้วน ทั้งนี้เพราะอาหารไทยมักมีผักปนอยู่เสมอ พร้อมกับ เครื่องเคียงต่าง ๆ จนเป็นที่เถืองคือว่า อาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ เช่น เมี่ยงคำ นี้าพริกกะปิ จึงเป็น อาหารที่เหมาะกับยุคนี้และแนวโน้มของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
                        4.    การบริการที่ประทับใจ ซื่งเป็นส่วนเสริมที่สำคัญมากของธุรกิจการเปิดร้านขายอาหาร ไทยจึงเป็นอีกมิติหนึ่งที่มีภาพลักษณ์ที่ดีให้คับอาหารไทยด้วยการบริการแบบมีมารยาทคันดีงามของคน ไทย จึงเป็นการช่วยส่งเสริมให้อาหารไทยยังคงครองความนิยมต่อไป
               จากกรณีตัวอย่างในการแทรกความนิยมเข้าสู'ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยรู้ความต้องการของผู้บริโภค แล้วจึงมีการพยายามตัดแปลงสินค้าให้สอดคล้องคับความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น