วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 4.4 การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

รื่องที่ 4.4  การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง
               1. การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง
ส่วนหนึ่งเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่ตรวจวัดด้วยอัตราเพิ่มของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดี พี) แต่ผลรูปธรรมอีกส่วนหนึ่งกลับเป็นความต่อเนื่องของสภาพป้ญหาการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม (ระดับครัวเรือนรายย่อย) กับ ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ
ผลรูปธรรมส่วนหลังข้างด้นปรากฏสะสมป้ญหา จนกลายเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา ประเทศชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ จนถูกระบุเป็นข้อสังเกตเรื่อง “ความยากจน” ของประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศที่มีลัดส่วนการถือครองทรัพย์สินรายได้ตาสุด เมื่อเปรียบเทียบกับลัดส่วนการถือครองของ ประชากรรํ่ารวยจำนวนน้อยของประเทศ
รายงานของคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ยอมรับผลสรุป ของการพัฒนาข้างด้น ไว้ในช่วงปลาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที, 8 ด้วยเช่นกัน ป้ญหาความยากจน (รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย) แพร่ระบาดจากชนบท ชุมชนเกษตรกร เข้าสู่สังคม เมืองมากขึ้น รวมทั้งแพร่ระบาดเข้าสู่แวดวงอาชีพอื่น ๆ นอกเหนือจากเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น ตามลำดับในช่วงก่อนและหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 โดยสภาพัฒน์ได้พยายามปรับกลยุทธ์การพัฒนา เช่น การพัฒนาที่ถือ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลางจนกระทั้งได้เริ่มปรับและกำลังจะปรับปรุงให้เกิดกลยุทธ์การ พัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นตามลำดับ โดยถือตามหลักปรัชญา แนวทฤษฎี และโครงการ ต้นแบบตามแนวพระราชดำริที่ได้รับการยอมรับนับถือจากองค์การสหประชาชาติ ดังที่มีรายงานข่าว เผยแพร่ไปยังประชาคมโลกแล้ว
เพราะเหตุที่ประชาชนจำนวนมากยังคงอยู่ในภาวะยากจนคือ รายได้ไม่พอเพียงต่อการใช้จ่าย เพื่อดำรงชีวิตครอบครัว ในขึ้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทที่ดำรงอาชีพเกษตรกร ดังนั้น การ แก้ไขป้ญหาความยากจนด้วยการยกระดับรายได้ของประชากรกลุ่มนี้ให้สูงขึ้น สู่ภาวะพอเพียงจึงเป็น ส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนา แบบเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นด้นส่วนหนึ่ง โดยไม่ยุติกระบวนการ ทางเศรษฐกิจส่วนอื่นที่จำเป็น เช่น การแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนที่อยู่ใน ขอบเขตเหมาะสมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจำแนกขั้นตอนดำเนินการพัฒนาไว้ต่อเนื่อง เป็น ลำดับชัดเจน โดยไม่ปิดกั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และไม่มุ่งหมายจะให้เกิดการหยุดชะงัก หรือ ถอยหลังเข้าคลองทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมิได้มุ่งหมายให้ประเทศมีแต่การผลิตแบบเกษตรกรรมเพียงส่วน เดียว
โครงการตามแนวพระราชดำริจำนวนมาก ที่สร้างความเตามทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นโครงการที่มีลักษณะผูกพันกับวิถีชีวิตชุมชนของชาวชนบทในภาคเกษตรกรรม เนื่องจาก ตลอด 3-4 ทศวรรษที,ผ่านมา ชุมชนเกษตรกรรมโดยทั่วไปในประเทศเผชิญกับป้ญหารายได้ไม่ เพียงพอต่อรายจ่ายอย่างกว้างขวางรุนแรง แต่โครงการที่มีลักษณะเป็นการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร
จำนวนมากเหล่านั้น เช่น โครงการหลวงดอยอ่างขาง และโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ฯลฯ มีความ ชัดเจนในแนวคิดเรื่องการผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอ สำหรับการชายออกสู่ตลาดภายนอชุมชน เพื่อสร้าง รายได้ที่เพียงพอและยั่งยืนแทนการปลูกฝืนในอดีต
แนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรที่พอเพียง สำหรับการจัดจำหน่วยสู่ตลาด ภายนอกชุมชนดังกล่าว ทำให้เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงล่งเสริมการแลกเปลี่ยนแบบเกื้อกูลกันทาง เศรษฐกิจ (ระหว่างเกษตรกร พ่อค้า และผู้บริโภค) ระหว่างประชาชนที่มีอาชีพต่าง ๆ กัน และไม่ใช่ แนวคิดที่ปิดนั้นไว้เฉพาะชุมชนชนบท และแวดวงเกษตรกรตามลำพังตามที่คนในสังคมเมืองที่มิใช่ เกษตรกรจำนวนหนึ่งพากันวิตกกังวลว่า ตนเองจะไม่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินชีวิตตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง นอกเหนือไปจากนั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักความคิดที่ส่งเสริม “พลวัต” มากกว่าแนะนำให้ประชากรทางเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในภาวะ “สถิต” หรือหยุดนึ่ง อยู่กับสภาพการณ์ทาง เศรษฐกิจในขณะหนึ่ง ๆ แต่การที่ประชาชนพึ่งตนเองไค้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตจาก แผนการกินดี อยู่ดี เป็นแผน อยู่พอดีกินพอดี ตามแนวพระราชดำริ
         “การปรับเปลี่ยนแผนการผลิต” จากการผลิตเพื่อการพาณิชย์มาเป็นการ “ผลิตเพื่อยังชีพ” เนื่องจากการผลิตเพื่อการพาณิชย์ทำให้ประชาชนต้องพึ่งระบบทุนนิยม ชะตาชีวิตของประชาชน ขึ้นอยู่ กับกลไก ของตลาดทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบประชาชน “เพื่อลดผลกระทบ” ที่เกิดจากความผันผวน ของตลาดเป้าหมายการผลิตต้องปรับไปเป็นผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ เมื่อมีส่วนเกินจึงจะนำออกขาย การผลิต เพื่อกินเพื่อใช้จำเป็นต้องกระจายการผลิตในครัวเรือน เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงในชีวิตอย่าง ยั่งยืน

2. องค์ประกอบการพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคง
            เส้นทางชีวิตของอาชีพ เราเริ่มต้นจากการเรียน!เข้าสู่อาชีพทำให้อาชีพขับเคลื่อนไปสู่การขยาย อาชีพ เราผ่านประสบการณ์ เรียน!แก้ปัญหาต่อสู้การแข่งขันมากมาย จนถึงจุดจุดหนึ่งที่เราต้องการ มากกว่านั้น คือ ความมั่นคง เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบพัฒนาอาชีพเข้าสู่ความมั่นคง
           การพัฒนาอาชีพเข้าสู่ความมั่นคงของผู้ประสบความสำเร็จมีมากมาย จะมีลักษณะการกระทำที่ สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ว่า ความมั่นคงของอาชีพขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) การลดความเสี่ยงในผลผลิต (2) ความมุ่งมั่นพัฒนาอาชีพ และ(3) การยึดหลักคุณธรรม

           จากแผนภูมิ จะพบว่า องค์ประกอบร่วมทั้ง 3 องค์ประกอบเป็นตัวส่งผลต่อความมั่นคงยั่งยืนใน อาชีพที่เราจะต้องนำมาบูรณาการให้เป็นองค์รวมเดียวกัน
การลดความเสี่ยงผลผลิต
           การประกอบอาชีพในกิจกรรมเชิงเดี่ยวมักจะเสี่ยงต่อโอกาส ผลผลิตไม่ไต้ตามเป้าหมาย ผลผลิต ราคาตกตา ดังนั้น การลดความเสี่ยงจึงจำเป็นที่จะต้องมีปัจจัยร่วมที่สำคัญมาทำให้อัตราการเสี่ยงของ ผลผลิตลดลง ตังนี้
          1. การสร้างความหลากหลาย เป็นการสร้างกิจกรรมอาชีพให้ได้ผลผลิตที่หลากหลายรองรับ การเสี่ยงด้วยการแข่งขัน และราคาของตลาด
         2. การเพิ่มผลผลิต เป็นภารกิจควบคุมดูแลบำรุงรักษาให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมา
         3. การหมุนเวียนเปลี่ยนรูป เป็นกิจกรรมทำให้ผลผลิต และข้อเสียให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการ หมุนเวียน เปลี่ยนรูป เป็นผลิตกัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด
4. การจัดการรายไต้ จากการซื้อขายผลผลิต ผลิตกัณฑ์แปรรูป ใช้ลงทุนดำเนินอาชีพต่อไป ใช้ดำรงชีวิต และเก็บออมเพิ่มทุนขยายการทำงาน
          ผู้ประสบผลสำเร็จในอาชีพจะมุ่งมั่นจัดการปัจจัยทั้ง 4 ประการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยลำดับ 
3.  การพัฒนาอาชีพ
          เป็นกระบวนการที่เน้นความสำคัญการพัฒนาระบบการจัดการทั้งการผลิตและการตลาดให้ตรง คับความต้องการของลูกค้า ดังนี้



      ปัจจัยร่วมทั้ง 4 ด้าน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพ โดยมีลักษณะความสำคัญ ดังนี้

     1. คุณภาพผลผลิต เป็นเรื่องที่เราจะต้องจัดการให้คุณภาพตรงความต้องการของลูกค้าให้มาก ที่สุด เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจไต้ว่าจะได้รับสินค้า/บริการที่ดีเป็นไปตามความคาดหวัง

     2. ลดต้นทุนการผลิต เกี่ยวข้องคับการกำหนดราคาผลผลิตที่จะต้องเป็นราคาที่ลูกค้าสามารถ ซื้อผลผลิตของเราไต้ แต่ไม่ใช่กำหนดราคาตาจนกระทั้งรายได้ไม่พอเพียง ดังนั้น การลดต้นทุนจึงเป็น เรื่องสำคัญที่เราจะต้องศึกษาเรียนรู้หาวิธีลดต้นทุนที่ทำให้มีรายไต้เพียงพอ ไม่ใช่ไปลดต้นทุนคับ ค่าแรงงาน แต่เป็นการบริหารจัดการให้ลดความเสียหายในป้จจัยการผลิต และการจัดการให้ได้ผลผลิตสูง

3. การส่งมอบผลิตผลให้ลูกค้าต้องเป็นไปตามข้อตกลงทั้งเวลานัดหมายและจำนวนผลผลิต ตัวอย่าง เช่น อาชีพร้านตัดเย็บเสื้อผ้าชาย ส่วนใหญ่มักจะผิดนัดทำให้เสียหายคับลูกค้าที่มีกำหนดการจะ ใช้เสื้อผ้า จึงหันไปใช้บริการเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีความสะดวกมองเห็นสินค้า และตัดสินใจเลือกซื้อไต้ ทันที ทำให้ป็จจุทันร้านเย็บเสื้อผ้าชายเกือบหายไปจากสังคมไทย

4. ความปลอดภัย ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคผลผลิต เช่น อาชีพเกษตรอินทรีย์ คนงานไม่มีโอกาส สัมผัสคับสารพิษ ทำให้การทำงานปลอดภัย ขณะเดียวคัน ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์เป็นอาหารที, ปลอดภัย

4.  การยึดหลักคุณธรรม   การยึดหลักคุณธรรม เป็นพฤติกรรมภายในของผู้ประกอบอาชีพ ที่สำคัญส่งผลต่อความมั่นคง ของอาชีพ ตังนี้


         คุณธรรมทั้ง 4 ประการดังกล่าวหลายคนบอกว่า เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังมาแต่เยาว์วัยจึงจะเกิดขึ้น ได้ ความเชื่อนี้เป็นจริง แต่มนุษย์เราสามารถเรียน! สร้างความเข้าใจ มองเห็นคุณค่า ปรับเปลี่ยนและ ตกแต่งพฤติกรรมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสร้างความสำเร็จให้กับตนเองได้
         1. ความขยัน มีลักษณะพฤติกรรมของการทำอะไรอย่างเอาจริงเอาจัง แข็งขันไม่เกียจคร้าน ถ้าผู้ประกอบอาชีพเป็นอย่างนี้เขาจะมองเห็นงานอย่างทะลุไปข้างหน้ามุ่งมั่นเอาจริงเอาจังยกระดับ ความสำเร็จไปอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงก็จะเกิดขึ้น
         2. ความประหยัด เป็นพฤติกรรมของการยับยั้ง ระมัดระวังการใช้จ่ายให้พอ สร้างความคุ้มค่า ให้มีความเสียหายน้อยที่สุด พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องของความรอบคอบในการทำงาน
        3. ความซื่อสัตย์ เป็นลักษณะการประพฤติตรงและจริงใจต่อลูกค้า ทีมงานไม่คิดทรยศ คดโกง หลอกลวง คู่ค้า ผู้ร่วมทุนเป็นพฤติกรรมที่สร้างความภักดี ความไว้วางใจต่อลูกค้า ทีมงานและหุ้นส่วน
      4. ความอดทน มีลักษณะพฤติกรรมที่สามารถอดกลั้น งดเว้น ทนอยู่ได้กับความยากลำบาก ไม่ทั้งงาน ไม่ยกเลิกข้อตกลงง่าย ๆ

5.  ความมั่นคงในอาชีพ
      ความมั่นคงในอาชีพ เป็นการจัดการทางจิตใจของผู้ประกอบการและระบบงานให้การประกอบอาชีพดำเนินไปอย่างมีความแน่นอน ทนทาน ล่มสลายได้ยาก โดยอาศัยพื้นฐานของการคิดเป็นบน องค์ประกอบของการพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคง ดังนี้
     1. ด้านตนเอง อยู่บนฐานของคุณธรรม
     2. ด้านสังคม อยู่บนฐานของการพัฒนา
     3. ด้านวิชาการ อยู่บนฐานของการลดความเสี่ยงในผลผลิต
      ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ข้อมูลการรับรู้เข้ามาคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และตัดสินใจอย่างเป็น ระบบ จะนำอาชีพไปสู่ความมั่นคง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น